วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536 เป็นสถานศึกษาสังกัดส่วนกลาง ขึ้นกับกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ทั้งหมด 100 ไร่ ของที่ดินกรมประชาสงเคราะห์ ด้านทิศเหนือติดกับโรงพยาบาลห้วยผึ้ง ด้านหน้าวิทยาลัยฯ
ติดกับ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2101 ถนนห้วยผึ้ง-นาคู ก.ม. 1–2
การดำเนินงานในปัจจุบัน ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่เปิดทำการสอน
ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลากหลาย) ประเภทวิชาที่เปิดทำการสอนระดับ (ปวช.) ประกอบด้วยช่างอุตสาหกรรม และพาณิชยการ รวม 6 สาขาวิชา
คือ สาขาวิชาไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างกลโลหะ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาการก่อสร้าง
สาขาวิชาการโรงแรม และสาขาวิชาบริหารธุรกิจ มีแผนกวิชาดังนี้
ó แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
ó แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ó แผนกวิชาช่างยนต์
ó แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ó แผนกวิชาพาณิชยการ
ó แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ó แผนกวิชาโลหะการ
ó แผนกวิชาช่างกลและซ่อมบำรุง
ó แผนกวิชาการโรงแรม
ระดับ ปวส. ประกอบด้วย ช่างอุตสาหกรรม และพณิชยการ รวม 4 คณะวิชา คือ คณะวิชาช่างไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิคส์ คณะวิชาเครื่องกล คณะวิชาก่อสร้าง และคณะวิชาบริหารธุรกิจ
มีสาขาวิชาดังนี้
ó สาขาการบัญชี
ó สาขาวิชาช่างยนต์
ó สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
ó สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ó สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ó สาขาวิชาโยธา
วัตถุประสงค์สถานศึกษา
วัตถุประสงค์ของวิทยาลัยคือ
1. การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในภาครัฐบาล และเอกชน
2. การจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ระยะที่
7-8 (พ.ศ. 2546-2550) และ (พ.ศ. 2551-2555)
3. การจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์
4. การจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนในจังหวัดกาฬสินธุ์
5. พัฒนานักเรียน-นักศึกษา ให้สามารถเชื่อมั่นตนเองในวิชาชีพ
6. พัฒนานักเรียน-นักศึกษา ให้สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้
7. พัฒนานักเรียน-นักศึกษา ให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอแก่การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
8. พัฒนานักเรียน-นักศึกษา ให้เป็นผู้มีคุณธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในสังคม
9. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ บังเกิดผลดีบรรลุความสำเร็จใน
การจัดการศึกษา
10. เพื่อสนับสนุนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับ ปวช.
1. เพื่อให้มีความรู้ มีฝีมือ มีความชำนาญและประสบการณ์ สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาชีพได้
2. เพื่อให้รู้จักค้นหา แก้ปัญหาและติดตามความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตนอยู่เสมอ มีนิสัยรักงาน
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีเจตคติที่ดีต่อสัมมาชีพ
3. เพื่อให้ความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาไทย วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา
ที่จำเป็นแก่การศึกษา
4. เพื่อให้บุคลิกภาพดี มีความซื่อสัตย์และยุติธรรม มีระเบียบวินัยและน้ำใจเป็นนักกีฬา
มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ประหยัด สุขภาพและอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจดำรงชีวิตบนพื้นฐาน แห่งคุณธรรมและกฎหมาย
5. เพื่อให้ความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศ และโลกปัจจุบัน
มีความสำนึกในความเป็นไทยดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ระดับ ปวส.
1. เพื่อให้มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญสำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตการศึกษา ค้นคว้า
เพิ่มเติมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. เพื่อให้มีทักษะในงานอาชีพระดับผู้ชำนาญการเฉพาะทาง สามารถนำไปประกอบอาชีพ
และพัฒนางานอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพมีความมั่นใจและภาคภูมิใจในงานอาชีพ รักงาน สามารถทำงาน
เป็นหมู่คณะได้ดี
4. เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญา มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการจัดการ
การตัดสินใจและการแก้ปัญหา รู้จักแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ มาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน
5. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีคุณธรรมจริยธรรม ขยัน ซื่อสัตย์ มีวินัย
มีสุขภาพกายใจสมบูรณ์แข็งแรง
6. เพื่อให้เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ทั้งในการทำงาน การอยู่ร่วมกัน มีความรับผิดชอบ
ต่อครอบครัว หน่วยงาน ท้องถิ่นและประเทศชาติ อุทิศตนเพื่อสังคมเข้าใจ และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ไทยภูมิปัญญาท้องถิ่นตระหนักในปัญหาและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
7. เพื่อให้เห็นคุณค่าและดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตน ในฐานพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |